หว่านพันธุ์แห่งโพธิ*

*หว่านพันธุ์แห่งโพธิ (หลวงพ่อคำเขียนกับความเปลี่ยนแปลงที่บ้านท่ามะไฟหวาน) เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติ ชีวิตและผลงาน ของหลวงพ่อคำเขียน
สุวณฺโณ ซึ่ง พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ได้เขียนไว้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

ในสายตาของประชาชนทั่วไป พระคำเขียน สุวณฺโณ เป็นพระเรียบ ๆ ธรรมดา ไม่มีอะไร แตกต่างจากพระทั่วไปที่พบเห็นเท่าใดนัก แต่ในหมู่นักพัฒนารุ่นใหม่นั้น ท่านเป็นที่รู้จัก ในฐานะพระนักพัฒนาที่อ่อนน้อมถ่อมตน มีทัศนะก้าวหน้า และเท่าทันสังคมสมัยใหม่ อย่าง ยากที่จะหาได้ในพระเถระปัจจุบัน ส่วนนักปฏิบัติธรรมจำนวนไม่น้อย ก็นับถือท่านว่าเป็นอาจารย์กรรมฐานที่เปี่ยมด้วยปัญญา กรุณา มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส แต่สำหรับ ชาวบ้าน บนหลังเขา “ภูโค้ง”

โดยเฉพาะที่ท่ามะไฟหวานแล้ว ท่านคือ “หลวงพ่ออ้วน” อันเป็นที่เคารพ นับถือ เป็นทั้งพระผู้นำและผู้ปกครอง
ที่ใส่ใจทุกข์สุขของชาวบ้านอย่างจริงจัง ภาพประทับใจ เช่นนี้ อาจเลือนลางในความรู้สึกของชาวท่ามะไฟหวานที่เป็นวัยรุ่นลงมา แต่สำหรับคนมีอายุส่วนใหญ่ ที่อยู่ท่ามะไฟหวานนานกว่า ๑๐ ปีและได้ทันเห็นท่านเมื่อแรกมารับ เป็นเจ้าอาวาส วัดประจำหมู่บ้าน..............

                                                                                                                    
                                                                                                             อ่าน “หว่านพันธุ์แห่งโพธิ” ฉบับเต็ม


 
ธรรมยาตรา

                    " ป่าไม้ร้องไห้ แม่น้ำล้มป่วย
                      แผ่นดินเป็นอัมพาต อากาศเป็นพิษ
                      ใครเป็นตัวแทน ของธรรมชาติ "
                                             
                                               หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ

จากดำริข้างต้นของหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ พระผู้ใช้ชีวิตสอดคล้องกับธรรมชาติบนเทือกเขาภูแลนคากว่า ๔๐ ปี โครงการธรรมยาตรา เพื่อฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติลุ่มน้ำลำปะทาวก็ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยมี
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เป็นผู้อำนวยการขับเคลื่อนโครงการให้ดำเนินมากว่า ๑๐ ปีแล้ว

โดยมีจุดมุ่งหมายทั้งในด้านศาสนธรรมการอนุรักษ์และวิถีเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้คนในชุมชนท้องถิ่นและชุมชนเมืองได้ตระหนักถึงศักยภาพ และหน้าที่ของตนในการดูแลรักษาและอยู่ร่วมกับธรรมชาติว่า ทำได้ง่าย หลายรูปแบบ เพียงเริ่มต้นจากตนเอง

การออกเดินจาริกด้วยเท้าเป็นระยะเวลา ๘ วัน ๗ คืน ของกลุ่มพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติธรรม ชาวบ้าน เยาวชน เด็กนักเรียน และกลุ่มคนที่สนใจไปตามหมู่บ้านต่างๆ ตามลำน้ำปะทาว บนเทือกเขาภูแลนคา นอกจากจะก่อให้เกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงศักยภาพ และหน้าที่ของตนต่อธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการฝึกฝน ตนเองของผู้เดินด้วยเช่นกัน เมื่อธรรมชาติดีงาม ผู้คนดีงาม สังคมดีงามย่อมเกิดขึ้น
                                                                                              
                                                                                          
                                                                                      รายละเอียดที่
www.lampatao.org


ชมรมเด็กรักนก

เมื่อครั้งหลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง บ้านท่ามะไฟหวาน ได้จาริกจากวัดป่าสุคะโต บ้านกุดโง้ง ซึ่งอยู่ห่างจากประมาณ ๔ กิโลเมตร เพื่อกลับวัดภูเขาทอง บ้านท่ามะไฟหวาน ระหว่างทางได้พบเห็นชาวบ้านสามีภรรยาอุ้มลูกซึ่งป่วยเป็นไข้ป่า (มาลาเรีย) มาหยุดตรงหน้าเพื่อให้หลวงพ่อช่วย แต่ในที่สุดเด็กก็ได้ตายไปต่อหน้าหลวงพ่อ ทำให้หลวงพ่อรู้เห็นถึงทุกข์ยากของชาวบ้าน และการสูญเสียคนในครอบครัว นับเป็นสิ่งที่สะดุดใจหลวงพ่อ อันเป็นเหตุให้ท่านเริ่มงานพัฒนาชุมชนอย่างแข็งขัน
                                                                                      
ในเวลาต่อมาปัญหาของเด็กเล็กซึ่งไม่ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่เท่าที่ควร วลาพ่อแม่ไปไร่นาต้องหอบหิ้วเด็กเล็กไปด้วยเนื่องจากไม่มีใครที่บ้านที่จะช่วยดูแล เวลาเจ็บไข้ไม่สบายป่วยเป็นมาลาเรียถึงตายก็มี เพราะภูโค้งเวลานั้นยังเป็นป่าดงดิบ ดังนั้น จึงได้มีการจัดประชุมชาวบ้านเพื่อสอบถามความเดือดร้อนพร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไข ซึ่งความทุกข์ของชาวบ้าน ก็คือการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย ความเดือดร้อนจากการถูกจับกุมโดยป่าไม้ จากผลการประชุมได้มีการตกลงให้นำเด็กๆก่อนเกณฑ์วัยเรียนมาฝากไว้ที่วัดภูเขาทอง จึงได้จัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนขึ้น เมื่อปี่ ๒๕๒๑ ในระยะแรกนั้นหลวงพ่อได้ทำหน้าที่เป็นครู เลี้ยงดูเด็กๆด้วยตัวตนเอง หลังจากนั้นจึงได้จัดหาชาวบ้านมาช่วยสอนเด็กๆเหล่านี้ การที่เด็กๆมาอยู่ที่วัดทำให้หลวงพ่อพบว่าเด็กๆเหล่านี้ขาดสารอาหาร หลวงพ่อจึงได้จัดทำโครงการนมถั่วเหลือง เพื่อเพิ่มสารอาหารให้กับเด็ก

แต่เมื่อครั้งที่เด็กๆกลุ่มนี้ได้เข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาในโรงเรียนบ้านท่ามะไฟหวาน ก็ยังคงแวะเวียนมาเล่นอยู่ที่วัดประจำอันเนื่องจากความผูกพันกับวัด หลวงพ่อและพระภิกษุในวัด ดังนั้นจึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจรรมอยู่เป็นประจำพระอิศราและพระไพศาลวิสาโล ซึ่งเป็นพระรุ่นใหม่และเป็นชาวกรุงเทพมหานคร ได้มีการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มนี้ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและธรรมะจึงได้อาศัยนกเป็นสื่อและก่อตั้งเป็นชมรมเด็กรักนก บ้านท่ามะไฟหวานเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๔ มีการประสานงานกับทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย เพื่อการเผยแพร่กิจกรรมและจัดฝึกอบรมการศึกษาดูนกเบื้องต้นการจำแนกชนิดของนก การวาดและบันทึกนก ด้วยการเชื่อมโยง ระหว่างนกกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน ธรรมชาติิและธรรมะ

นอกจากนี้ได้ขยายกิจกรรมไปสู่วัดบ้านท่าทางเกวียน ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้เคียงกัน แต่ก็ต้องหยุดกิจกรรมเนื่องจากพระที่ทำกิจกรรมกับเด็กๆไม่อยู่แต่ที่วัดภูเขาทอง บ้านท่ามะไฟหวาน หลวงพ่อคำเขียนและพระลูกวัดยังให้ความสนใจกับกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งพระอิศรา ลาสิกขา(สึก) ในปี ๒๕๓๘ การดำเนินงานต้องหยุดกิจกรรม เนื่องจากขาดบุคลากรและอาสาสมัครในการดำเนินกิจกรรม

แต่ในปี ๒๕๔๑ นายวิชัย นาพัว สมาชิกคนหนึ่งของชมรมเด็กรักนกและเป็นเยาวชนในหมู่บ้านได้กลับมาภูมิลำเนาเดิม หลังจากได้รับประสบการณ์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยได้กลับมารวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ซึ่งเป็นเยาวชนในหมู่บ้านและเคยร่วมกิจกรรมในวัยเด็ก เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ ด้วยการอาศัยความรู้ประสบการณ์เดิม ในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กๆในหมู่บ้าน และขยายกิจกรรมสู่โรงเรียนบนเทือกเขาภูแลนคาในกิจกรรมห้องเรียนธรรมชาติ โครงการศึกษาและสำรวจนกบนเทือกเขาภูแลนคาเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งได้เข้าร่วมเป็นองค์กรเครือข่ายกับสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย


 
สาส์นจากน้ำ

สถาบันวิจัย IHM ได้ถ่ายผลึกน้ำแข็งชนิดต่างๆ ที่ได้จากน้ำธรรมชาติและน้ำประปาทั้งในประเทศและต่างประเทศหรือน้ำที่ได้รับการเปิดดนตรีให้ฟัง และน้ำที่ได้รับการเปิดหนังสือให้อ่าน เป็นต้น ทั้งนี้เป็นวิธีการใหม่ในการทดสอบคุณภาพน้ำ ในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นภาพของผลึกน้ำแข็งชนิดต่างๆ
โดยเฉพาะภาพได้ล่าสุด


น้ำฝนของวัดป่าสุคะโต ประเทศไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับสถานรักษาสุขภาพจิตใจ สถานที่ซึ่งเราสามารถรู้สึกได้ถึงความเงียบสงบทางจิตใจและความอบอุ่น แม้เพียงแค่ได้ไปอยู่ที่นั่น.. ท่านผู้อ่านจะนึกขึ้นได้ทันทีว่า สถานที่แบบนั้นมีอยู่ที่ไหน ภาพที่ท่านผู้อ่านนึกถึงนั้น อาจจะเป็นหาดทรายงดงามของเกาะทางใต้ซึ่งท่านสามารถไปนั่งดูทะเลสีฟ้าปลดปล่อยอารมณ์อย่างสบายใจตามจินตนาการ หรืออาจจะเป็นป่าเขาที่มีก้อนหินหรือตอไม้ที่ถูกปกคลุมไปด้วยตะไคร้น้ำซึ่งท่านสามารถจะไปนั่งและปล่อยความคิด ถึงเรื่องราวต่างๆไปเรื่อยๆ หรืออาจจะเป็นร้านกาแฟในเมืองที่มีกาแฟแสนอร่อยคอยบริการระคนกับการฟังบทเพลงอันไพเราะ หรืออาจจะเป็นวัดของศาสนาพุทธหรือศาลเจ้าของศาสนาซินโต......


น้ำฝนที่ชาวบ้านดื่มทุกวัน

บรรยากาศที่เกิดขึ้นเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากภายในของตนเองซึ่งความรู้สึกของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาเองเฉยๆ ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเป็นอย่างไร และนี่คือ สิ่งที่ทำให้เราตั้งประเด็นการศึกษาในการทดสอบครั้งนี้ขึ้นมาได้ คือ สามารถที่จะวัดความแตกต่างในลักษณะของสถานที่ที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกว่า “ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร ถ้าหากได้อยู่ที่นี้ ก็มีความรู้สึกเหมือนว่า เกิดความสงบทางจิตใจและเกิดความอบอุ่น” ได้หรือไม่ โดยการวิเคราะห์ลักษณะของผลึกน้ำแข็งที่ได้มาจากสถานที่เหล่านั้น

ผลึกน้ำแข็งที่นำมาวิเคราะห์ครั้งนี้ ได้มาจากวัดแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในป่า ชื่อ วัดป่าสุคะโต ที่จังหวัดชัยภูมิในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศทางตอนใต้ ที่วัดแห่งนี้ มีพระสงฆ์ชาวญี่ปุ่น ชื่อ พระยูกิ นรเทโว ซึ่งเคยได้ยินจากพระยูกิเมื่อครั้งมาเยี่ยมประเทศญี่ปุ่นว่า แม้วัดแห่งนี้จะตั้งอยู่ห่างไกลจากสถานที่ท่องเทียวก็ตาม แต่ก็มีชาวญี่ปุ่นหลายคนแวะมาเยี่ยมเยียนวัดแห่งนี้ และได้รับประสบการณ์ในเรื่องของการภาวนาหรือการสำรวมจิตใจ......เพื่อที่จะแสวงหา “สิ่งสำคัญที่เราไม่สามารถอธิบายได้ว่า สิ่งนั้นคืออะไร”

ที่วัด พระสงฆ์สวดมนต์ทุกวัน ได้ยินมาว่า ชาวบ้านก็จะมานั่งสมาธิที่วัดเพื่อแก้ไขปัญหาทางจิตใจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ที่นี่เป็นสถานที่ทำให้เรารู้สึกถึงความสงบทางจิตใจและความอบอุ่นซึ่งเราไม่สามารถทราบได้ว่า เพราะเหตุใดความรู้สึกแบบนี้จึงเกิดขึ้นโดยปริยายเมื่อได้เข้ามาอยู่ที่นี้ อาจจะกล่าวได้ว่า ที่นี้คือ สถานที่ทำให้เรามีโอกาสนึกถึงความสำคัญของสิ่งต่างๆ

ผลึกน้ำแข็งที่ได้มาจากน้ำที่เก็บมาจากตุ่ม ณ จุด C มีจำนวนผลึกที่เป็นหกเหลี่ยมมากที่สุด อาจจะกล่าวได้ว่า หากเปรียบให้น้ำเป็นมนุษย์ (ผลึกที่สวยงามจะมีจำนวนมากขึ้น = มนุษย์เราได้รับความสงบทางจิตใจมากขึ้น) สถานที่ต่างๆจะมีอิทธิพลหรือพลังทางจิตใจที่ส่งผลต่อน้ำและมนุษย์

อิทธิพลของจิตวิญญาณมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในสถานที่
โดยสรุปจากผลการวิจัยแล้ว อยากจะกล่าวย้ำว่า น้ำจากจุด A มีผลึกน้ำแข็งที่มีลักษณะสวยงามน้อยที่สุด ทั้งนี้อาจจะตั้งสมมุติฐานได้ว่า ในบรรยากาศสถานที่ที่มนุษย์ดำเนินชีวิตประจำวัน พลังทางอารมณ์ต่างๆ เช่น ความดีใจ ความโกรธ ความเศร้า และความสนุกสนาน โดยเฉพาะ พลังอารมณ์ทางด้านลบ จะส่งผลกระทบต่อน้ำโดยจะเป็นข้อมูลชนิดหนึ่ง และถูกบันทึกไว้ในน้ำ จึงทำให้ผลึกน้ำแข็งมีลักษณะไม่ค่อยสวยงาม ในทางตรงกันข้าม น้ำที่เก็บมาจากจุดที่อยู่ในวัดที่เป็นสถานที่ในการพิจารณาตนเองโดยแยกตัวออกจากชีวิตประจำวันและป่าที่มีความสงบสงัดซึ่งทั้งสองสถานที่นั้นถือว่าเป็น “สถานที่ที่ทำให้เรารู้สึกถึงความสงบทางจิตใจและความอบอุ่น” ด้วยเหตุนี้ น้ำเองก็ได้รับคลื่นพลังของสถานที่และทำให้ผลึกน้ำแข็งที่มีลักษณะสวยงามมากกว่า

ในส่วนสุดท้าย อยากจะกล่าวย้ำอีกว่า ผลึกน้ำแข็งที่มีลักษณะสวยงามที่เกิดจากน้ำที่เก็บมาจากตุ่มในวัดมีจำนวนมากกว่าที่เกิดจากน้ำของตุ่มในป่า สาเหตุที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างน้ำของวัดกับน้ำของป่านั้น เนื่องมาจาก “บรรยากาศ” ของวัดมีคุณภาพดีกว่าของป่าหรือไม่ หรือเนื่องจากจิตวิญญาณโดยรวมของชาวบ้านเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างบรรยากาศของ “สถานที่ทำให้เรารู้สึกความสงบทางจิตใจและความอบอุ่น” ทั้งนี้เราไม่สามารถทราบได้ว่า อะไรคือสาเหตุจริงๆ อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่า หากคิดว่าวิญญาณโดยรวมของมนุษย์เราสามารถที่จะสร้างบรรยากาศของสถานที่ทำให้เรารู้สึกถึงความสงบทางจิตใจและความอบอุ่น ก็ทำให้เรามีความสุขได้

ถ้าหากว่า สภาวะทางธรรมชาติที่ไม่ต้องการให้จิตวิญญาณของมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องจะเป็นสภาพที่ดีที่สุดสำหรับคุณภาพของน้ำ เราต้องสรุปว่า มนุษย์เราควรจะอยู่ภายนอกโลกธรรมชาติโดยไม่ยุ่งเกี่ยวอะไรเลย แต่ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า บรรยากาศของสถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาภายใต้สภาวะจิตใจที่มีความสอดคล้องกับโลกของธรรมชาติ มีความเหมาะสมที่สุดเพื่อที่จะผลิตผลึกน้ำแข็งที่มีลักษณะสวยงามที่สุด

ผู้เขียนคิดว่า ทิศทางของจิตสำนึกของคนเรามีความสำคัญมาก มีสิ่งที่ทำลายผลึกน้ำและสิ่งที่ฟื้นฟูผลึกที่ถูกทำลายให้กลับไปเป็นสภาพเดิมอย่างสวยงาม ทั้งสองสิ่งนี้อยู่ในจิตสำนึกของเรานั้นเอง

ในภูมิภาคนี้ ฤดูฝนเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในช่วงฤดูฝน ชาวบ้านจะเก็บน้ำฝนใส่ตุ่มไว้โดยใช้รางน้ำบนหลังคารองน้ำฝนให้ไหลลงสู่ตุ่ม และดื่มน้ำฝนนั้นทุกวัน สำหรับคนญี่ปุ่น การดื่มน้ำโดยปราศจากการกรองน้ำเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ อันที่จริงแล้ว คนญี่ปุ่นที่ได้มาเยี่ยมวัดแห่งนี้เป็นครั้งแรกมักจะลังเลใจในการดื่มน้ำฝนนั้นในช่วงแรกๆ แต่หลังจากที่ได้ลองไปแล้วก็จะรู้สึกว่า น้ำฝนนั้นมีรสชาติหวานอร่อยกว่าที่ได้คิดไว้ การดื่มน้ำฝนนั้นเป็นธรรมเนียมประจำวัดที่เราตระหนักว่า น้ำฝนแต่เดิมทีเป็นน้ำสะอาด

น้ำที่เราสะสมมาเพื่อนำมาวิเคราะห์ มีสามประเภท ทั้งสามประเภทนั้นได้มาจากน้ำฝนในตุ่มในน้ำแต่ละตุ่มซึ่งตั้งอยู่ที่จุด A จุด Bและจุด C เมื่อนำตัวอย่างน้ำทั้งสามประเภทนั้นมาที่สถาบันวิจัย ไม่ได้ระบุว่า น้ำใดเป็นประเภทไหน ในการถ่ายรูปผลึกน้ำแข็ง จึงทำให้ผู้สังเกตน้ำเหล่านั้นไม่สามารถระบุได้ว่าน้ำใดได้มาจากตุ่มไหน

ต่อไป เราจะสังเกตดูผลึกน้ำพร้อมกัน โดยจินตนาการถึงป่าที่วัดป่าสุคะโตตั้งอยู่

หมู่บ้านที่พระสงฆ์ไปบิณฑบาตทุกวัน
ร้อยละ ๙๕ ของประชากรไทยทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ และส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนซึ่งเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจ ที่นี่คือหมู่บ้านแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ชีวิตในแต่ละวันของชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้เริ่มต้นจากการที่พระสงฆ์ที่จะมาบิณฑบาตร อาหารที่พระสงฆ์จะฉันในแต่ละวัน มีเพียงแค่อาหารที่ได้มาจากการบิณฑบาตเท่านั้น การบิณฑบาตร น่าจะขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ในการแสดงความขอบคุณซึ่งกันและกันระหว่างพระสงฆ์ที่มาบิณฑบาตรกับชาวบ้านที่ใส่บาตร

ตุ่มน้ำจุด A ที่เราเก็บน้ำฝนตั้งอยู่ข้างบ้านแห่งหนึ่งของพุทธศาสนิกชนที่ดี จึงกล่าวได้ว่า น้ำที่ได้เก็บมานั้นอยู่ในสถานที่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของอารมณ์และจิตใจของชาวบ้าน ผลึกน้ำแข็งที่ได้จากน้ำที่เก็บมาจากที่นั่น มีลักษณะสวยงามมาก แต่โดยภาพรวมแล้ว ผลึกน้ำแข็งที่เป็นหกเหลี่ยมจะมีจำนวนน้อยที่สุดในบรรดาผลึกที่ทำมาจากน้ำที่ได้เก็บมาจากทั้งสามจุด แต่ก็กล่าวได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นผลึกที่สวยงามมากซึ่งเราไม่สามารถสังเกตได้จากผลึกน้ำแข็งที่ได้จากน้ำฝนในประเทศญี่ปุ่น

ความเงียบสงัดในป่าที่อยู่ล้อมรอบวัด
พระยูกิได้กล่าวว่า วัดป่าสุคะโตนั้น ที่จริงแล้วมิใช่วัดที่อยู่ในป่า แต่หากป่าทั้งหมดนั้นสามารถที่จะเรียกได้ว่า เป็นวัดนั่นเอง ตุ่มน้ำจุด B อยู่ระหว่างทางจากหมู่บ้านไปสู่วัด เป็นสถานที่ที่เงียบสงัดมากที่สุดในบรรดาจุดเก็บน้ำในครั้งนี้อาจจะกล่าวได้ว่า น้ำที่นี่อาจมีการแปลรูปอย่างมหัศจรรย์โดยได้รับอิทธิพลจากจังหวะการโอนเอนของโลกธรรมชาติ กรุณาดูโฉมหน้าตาของผลึกต่างๆที่ได้มาโดยการผสมกันระหว่างจังหวะของโลกธรรมชาติกับตุ่มที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ เมื่อเปรียบเทียบกับผลึกที่ได้จากน้ำ ณ จุด A เราสามารถสังเกตผลึกที่เป็นหกเหลี่ยมได้มากกว่าสองเท่า

การมาวัดป่าสุคะโตของพุทธศาสนิกชนจะข้ามสระน้ำที่เต็มไปด้วยดอกบัว

ได้ยินมาว่า หน้าวัดแห่งนี้ มีสระน้ำที่เต็มไปด้วยดอกบัวและมีสะพานข้ามฝั่ง กล่าวคือ สระบัวอยู่ระหว่างโลกของชีวิตประจำวันกับโลกของความศักดิ์สิทธิ์ พุทธศาสนิกชนจะข้ามสะพานเข้าสู่โลกของความศักดิ์สิทธิ์โดยการชื่นชมดอกบัวอันสวยงามซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา วัดป่าสุคะโตอยู่ในโลกของความศักดิ์สิทธิ์ในสภาวะนิพพาน จุดเก็บน้ำ C คือ ตุ่มกักน้ำที่อยู่ข้างๆ วัด