ช้างไพรในวัดป่าสุคะโต

เมื่อหลวงพ่อบุญธรรมได้ป่าขนาดใหญ่มาตั้งเป็นอารามสงฆ์แล้วนั้นท่านก็ได้ สร้างกุฏิเล็กๆอยู่อย่างสมถะ ใช้ชีวิตกลมกลืนกับป่า ปกป้อง ต้นไม้และสัตว์ ทุกตัวในป่าอย่างสุดจิตสุดใจ ความโปร่งของผืนป่า ทำให้ท่านสามารถเดินตรวจป่าได้ทุกวัน เพียงชั่วโมงเดียวท่านก็เดินได้รอบ ท่านพบเห็นสัตว์น้อยใหญ่มากมายและเป็นมิตรกับท่านไป หมด บางคราวในวันศีล กวางตัวเขื่องๆ วิ่งเตลิดผ่ากลางญาติโยมที่มาทำบุญเล่นเอาตกอกตกใจกันก็เคย

หลวงพ่อเล่าว่าในบริเวณวัดมีช้างโขลงเล็กๆอยู่ประมาณ 5 ตัว ช้างหักข้าวโพดของไร่ชายป่าข้างวัด หลวงพ่อต้องยอมฝืนสมณวิสัยลงไปช่วยชาวบ้านหักข้าวโพดอีกแรงหนึ่ง เหตุหนึ่งก็เพื่อให้ข้าวโพดของขาวบ้านเสียหายจากช้างและหมูป่าของวัดให้น้อยที่สุด อีกเหตุหนึ่งก็เป็นวิธีเดียวที่มีประสิทธิภาพที่สุด ที่จะบอกให้ชาวบ้านได้ล่วงรู้ถึงเจตนาของหลวงพ่อในการจะสงวนชีวิตในวัดด้วยหลวงพ่อ เล่าว่า “ช้างนี่ฉลาดเสียด้วย เก็บกินแต่ฝักใหญ่ๆงามๆ” แต่ที่จริงจะโทษช้างก็ไม่ได้ เพราะพื้นที่ในการหาอาหารของมันถูกไร่ข้าวโพดรุกคืบเข้าไปทุกที และ วันหนึ่งหลวงพ่อก็ไม่อาจฝืนความเปลี่ยนแปลง เมื่อมีนายพรานมาซุ่มยิงช้างที่ชายไร่ริมป่านอกแนววัด หลวงพ่อจำเหตุการณ์ได้ละเอียด ซึ่งบัดนี้ได้กลายเป็นตำนานเก่า ไปแล้ว

หลวงพ่อว่าวันนั้นช้างมากัน ๕ ตัว และมีเพียงตัวเดียวที่เดินพ้นแนวป่าปรากฏตัวให้เห็นก่อน เมื่อเสียงปืนดังขึ้น ช้างตัวที่ใหญ่ ที่สุดใน โขลงซึ่งยังอ้อยอิ่งอยู่ในรุ่มเงาป่า ก็วิ่งถลันจากป่าเข้าใส่พรานทันที หลวงพ่อเข้าไปสำรวจร่องรอยในภายหลังพบว่า ต้นไม้ขนาดเสาเรือนที่ขวางทางหักไป ๓ ต้น โชคดีที่พรานยืนอยู่ข้างต้นบกใหญ่ อาศัยวิ่งวนรอบต้นบกจึงรอดตัวมา เมื่อช้างไม่พบพรานในรอบแรก ด้วยความเป็นห่วงเพื่อนที่เจ็บจึงละจากพรานกลับไปประคองเพื่อนหนีเข้าป่าไป หลวงพ่อเล่าว่าช้าง สองตัวเดินหนีบ ช้างตัวที่บาดเจ็บ พาหิ้วเดินออกจากป่าของวัดพาข้ามห้วยข้ามเขาลึกเข้าไปในป่าใหญ่ทางตะวันตก หลวงพ่อได้ไปกับพวกพรานเดินตามรอยเลือดและ รอยเท้าช้าง ข้ามไปถึงเทือกเขากระแตไกลออกไป จนที่สุดก็ไม่พบเพราะไปสับสนกับรอยช้างตัวอื่น หลวงพ่อเองเชื่อว่าช้างนั้นมีสุสาน ท่านเองเคยไปพยเห็นกับตา บนดอยน้ำค้าง มีซากช้าง ๕ เชือกถูกปืนไปตายห่างๆกันไม่มีงาเหลืออยู่เลย หลวงพ่อเองเชื่อว่าช้างตัวอื่นคงเอาไปซ่อนท่านยังเก็บกระดูกท่อนขาของช้างมาชิ้นหนึ่งยาวสัก ๗๐ เซนติเมตร เอามาแกะสลักเป็นกรอบแว่นตาใช้เอง ยังเก็บอนุสรณ์ถึงทุกวันนี้และนี่คือ ประวัติศาสตร์ฉากสุดท้าย ของช้างในวัดป่าหลังเขาแห่งนี้